ชวนฉลองปีใหม่แบบสุขภาพดี

ชวนฉลองปีใหม่แบบสุขภาพดี กินให้พอเหมาะ ดื่มให้พอดี และพักผ่อนให้เพียงพอ ชวนฉลองปีใหม่แบบสุขภาพดี กินให้พอเหมาะ ดื่มให้พอดี และพักผ่อนให้เพียงพอ อนจอยกับมื้ออาหารในเทศกาลแห่งปีไม่ว่าจะเป็น ปิ้งย่าง ชาบู ขนม น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารจัดแน่นจัดเต็ม มื้อพิเศษกับคนสำคัญ ในช่วงปีใหม่หลายคนอาจมีการเฉลิมฉลองด้วยมื้ออาหารมื้อใหญ่ การทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะและหลีกเลี่ยงการทานของหวาน เค็ม และมันเกินไปในช่วงปีใหม่ จะช่วยให้คุณสุขภาพดีและสามารถสนุกสนานกับการเฉลิมฉลองได้อย่างเต็มที่โดยไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว การทานอาหารหวาน เค็ม มันในปริมาณมากเกินไปอาจมีข้อเสียที่ต้องระวัง ❌เสี่ยงโรคหัวใจ: อาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัว เช่น ของทอดและอาหารมัน ๆ สามารถเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ❌เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน: การทานอาหารหวานเกินไป เช่น ขนมหวาน น้ำหวาน หรือของหวานในปริมาณมาก สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งหากทานบ่อย ๆ อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ❌เพิ่มความดันโลหิต อาหารเค็ม เช่น น้ำปลา ซอสถั่วเหลือง หรืออาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูงสามารถเพิ่มความดันโลหิตได้ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ ❌ระบบย่อยอาหารทำงานหนัก: การทานอาหารมัน ๆ หรืออาหารที่มีโซเดียมสูงจะทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนัก…

แจ้งเตือน! กลุ่มบุคคลแอบอ้างชื่อบริษัท

แจ้งเตือน! กลุ่มบุคคลแอบอ้างชื่อบริษัท แจ้งเตือน! กลุ่มบุคคลแอบอ้างชื่อบริษัท เนื่องจาก บริษัท ธนบุรี เสริมรัฐ จำกัด (“บริษัทฯ”) ได้รับแจ้งจากหน่วยงานของรัฐหลายแห่งว่า มีบุคคลแอบอ้างผลงานของ บริษัทฯ เพื่อประโยชน์ของบริษัทตน ในการเสนอบริการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจในโรงพยาบาลต่าง ๆ จึงขอแจ้งให้ทุกท่านทราบว่า บริษัทฯ ไม่มีบริษัทย่อยอื่นที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทฯ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่แอบอ้างดังกล่าว และบริษัทฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่แอบอ้าง หากท่านมีข้อสงสัย หรือพบความผิดปกติ โปรดติดต่อกับเราโดยตรงและโปรดติดตามข่าวสารจากช่องทางทางการเท่านั้น Facebook: ธนบุรี เสริมรัฐ Line ID: @tsr.bd Website: www.thonburisermrath.co.th

ธนบุรี เสริมรัฐ EKG รัฐสภา

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ณ รัฐสภา

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG สัญจร ณ รัฐสภา ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG สัญจร ณ รัฐสภา ในวันที่ 20 ธันวาคม 2567 ธนบุรี เสริมรัฐ ได้นำทีม ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ในโครงการ “มหกรรมสุขภาพ Parliament Health 2024” ภายใต้ความร่วมมือของ รัฐสภาและ สสส. โดยได้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ให้กับบุคลากรภายในรัฐสภา มากกว่า 150 คน เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทุกภาคส่วนของรัฐสภา ให้มีความรู้ดูแลสุขภาพกาย-ใจให้แข็งแรง สู่การสร้างสุขภาวะดีที่ยั่งยืน พร้อมขับเคลื่อนรัฐสภา สู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข ด้วยแนวคิด “สุขกาย สบายใจ ไร้หนี้ ชีวีมีสุข”

โรคหัวใจในเด็ก

โรคหัวใจในเด็ก เรื่องใหญ่ของหัวใจดวงน้อย

โรคหัวใจในเด็ก เรื่องใหญ่ของหัวใจดวงน้อย แม้ว่าวัยเด็กจะไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจ แต่โรคหัวใจในเด็กสามารถส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพัฒนาการและคุณภาพชีวิต การทำความเข้าใจโรคหัวใจในเด็กตั้งแต่สาเหตุ อาการ วิธีวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โรคหัวใจในเด็กสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก 1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) เป็นโรคหัวใจที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจหรือหลอดเลือด เช่น รูรั่วในผนังหัวใจ ลิ้นหัวใจตีบ หรือหลอดเลือดผิดปกติ ซึ่งสามารถตรวจพบโดยแพทย์ตั้งแต่ก่อนคลอด หลังคลอด หรือตรวจพบเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ในกรณีที่ตรวจพบเมื่อเป็นผู้ใหญ่อาจมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถผ่าตัดได้ แต่โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิดก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่ต้องรักษา เพียงแต่ต้องดูแล ระวัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ลิ้นหัวใจตีบเล็กน้อย รูในผนังหัวใจขนาดเล็ก เป็นต้น 2. โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Heart Disease) เป็นโรคหัวใจที่เกิดขึ้นหลังจากเด็กเกิดแล้ว เช่น  โรคหัวใจรูห์มาติก ที่เกิดจากไข้รูห์มาติก ทำให้มีลิ้นหัวใจรั่ว และ/หรือตีบ  โรคไข้คาวาซากิ ซึ่งมักพบในเด็กเล็ก อาจทำให้มีเส้นเลือดหัวใจโคโรนารีโป่งพอง โรคลิ้นหัวใจจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียเกือบทุกชนิดอาจเป็นสาเหตุการอักเสบของหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่นำไปสู่การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งในบางรายอาจเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ…

โรคหัวใจสลาย

ภาวะหัวใจสลาย โรคหัวใจที่มีผลจากความเครียด

ภาวะหัวใจสลาย โรคหัวใจที่มีผลมาจากความเครียด โรคหัวใจสลาย หรือที่รู้จักในชื่อทางการแพทย์ว่า Takotsubo Cardiomyopathy เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวชั่วคราว ซึ่งมักเกิดจากความเครียดทางอารมณ์หรือร่างกายที่รุนแรง เช่น การสูญเสียคนที่รัก อุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจอย่างหนัก ภาวะนี้มีอาการคล้ายหัวใจวาย แต่ไม่มีการอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ลักษณะสำคัญของโรคหัวใจสลาย เกิดจากความเครียดหรืออารมณ์รุนแรง เช่น การเลิกรา การสูญเสีย หรือความเครียดเรื้อรัง การเปลี่ยนแปลงรูปทรงหัวใจ หัวใจส่วนล่าง (Ventricle) ขยายใหญ่ขึ้นและทำงานไม่เต็มที่ ทำให้รูปร่างของหัวใจดูคล้ายกับ “กับดักปลาหมึก” (Takotsubo) ในภาษาญี่ปุ่น ไม่มีการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ ต่างจากอาการหัวใจวายทั่วไปที่มักเกิดจากหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน อาการของโรคหัวใจสลาย เจ็บหน้าอกแบบฉับพลัน หายใจลำบาก ใจสั่น หรือรู้สึกเหนื่อยอ่อน อาจมีอาการหน้ามืด หรือหมดสติในบางกรณี สาเหตุของโรคหัวใจสลาย ความเครียดทางอารมณ์ : การเลิกรา การสูญเสียคนสำคัญ หรือเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจอย่างรุนแรง ความเครียดทางร่างกาย : การผ่าตัด อุบัติเหตุ การผ่าตัดครั้งใหญ่ หรือโรคประจำตัวที่อาการร้ายแรง ฮอร์โมน : ระดับของฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดความเครียด อาจส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ…

ธนบุรี เสริมรัฐ_ฟิตไม่พักระวังหัวใจวายไม่รู้ตัว_TSR

ฟิตแบบไม่พัก หัวใจอาจพังไม่รู้ตัว

ออกกำลังกายหนักหักโหม ฟิตแบบไม่พัก หัวใจอาจพังไม่รู้ตัว ออกกำลังกายยังไง หัวใจไม่ต้องเสี่ยง เคยได้ยินข่าวนักกีฬาล้มลงกลางสนามแข่งขันกันไหม ? คนที่ดูเหมือนแข็งแรง แต่กลับเกิดภาวะหัวใจวายกะทันหันขณะออกกำลังกาย เหตุการณ์แบบนี้อาจชวนสงสัยว่าคนที่ดูสุขภาพดี ทำไมถึงเกิดเรื่องแบบนี้ได้ เพราะจริง ๆ แล้วการออกกำลังกายที่ “หักโหมเกินไป” หรือ “ผิดวิธี” อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะภาวะหัวใจวายที่อาจเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่ทันตั้งตัว ทำความรู้จัก ภาวะหัวใจวาย ภัยเงียบที่มองไม่เห็น ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attack) คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือถูกขัดขวางนั่นเอง ซึ่งภาวะหัวใจวายมักเกิดขึ้นแบบฉับพลันและไม่ทันให้เราได้ตั้งตัว โดยปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องนั้นมีหลากหลายอย่าง เช่น การออกกำลังกายที่หนักเกินไปโดยไม่พัก ความเครียดสะสม โรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปี ทำให้ไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ชอบสูบบุหรี่ ชอบกินของทอด ของมัน แล้วออกกำลังกายแบบไหนที่เสี่ยงหล่ะ ? ภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นของนักกีฬานั้น มีสาเหตุมาจากการออกกำลังกายที่มากเกินไปส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก และเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ อย่าลืมว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าทำผิดวิธีก็อาจกลายเป็นปัญหา ออกกำลังกายหนักเกินไป เช่น คนที่ไม่เคยวิ่งมาก่อน แต่เริ่มต้นด้วยการวิ่งมาราธอน ขาดการอุ่นเครื่องและคลายกล้ามเนื้อ ทำให้หัวใจปรับตัวไม่ทัน เมินเฉยต่อสัญญาณเตือนจากร่างกาย…

10 โรคร้ายเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

10 โรคร้ายที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

10 โรคร้ายที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคร้ายหรือภาวะสุขภาพที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมีหลายอย่าง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยตรง 1. ความดันโลหิตสูง (Hypertension) ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจล้มเหลวและโรคหลอดเลือดสมอง 2. เบาหวาน (Diabetes) ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรังทำให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือดแดงและหัวใจ 3. ไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) ระดับคอเลสเตอรอล LDL (ไขมันเลว) สูง และระดับ HDL (ไขมันดี) ต่ำ เพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงแข็ง 4. โรคอ้วน (Obesity) น้ำหนักตัวเกินและไขมันสะสมในร่างกายทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น 5. โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) การตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดหัวใจทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง 6. โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease) ไตทำงานลดลงส่งผลต่อการควบคุมความดันโลหิตและเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ 7. ภาวะนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ส่งผลต่อความดันโลหิตและทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น 8. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (Autoimmune Diseases) การอักเสบเรื้อรังในร่างกายเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ 9. การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป สารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์เพิ่มโอกาสเกิดการตีบตันของหลอดเลือด 10. โรคซึมเศร้าหรือความเครียดเรื้อรัง…

ธนบุรี เสริมรัฐ_ปวดประจำเดือน เหมือนเจ็บหัวใจวาย_TSR

ปวดประจำเดือน เหมือนเจ็บหัวใจวาย ?

ปวดประจำเดือน เหมือนเจ็บหัวใจวาย ? เมื่อประจำเดือน ถูกเปรียบเทียบกับหัวใจวาย “ปวดท้องประจำเดือนเจ็บเท่ากับหัวใจวาย” เป็นคำพูดของ จอห์น กิลโบด์ (John Guilebaud) สูตินรีแพทย์จากมหาวิทยาลัยลอนดอน แต่การเปรียบเทียบนี้ไม่ใช่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เป็นเพียงการอธิบายให้เข้าใจถึงความรุนแรงของความเจ็บปวดที่ผู้หญิงบางคนอาจต้องเผชิญในช่วงประจำเดือน ความแตกต่างระหว่างปวดท้องประจำเดือนกับหัวใจวาย หัวใจวาย : มีลักษณะความเจ็บปวดแบบ “จุกเสียด” หรือ “แน่นหน้าอก” อาจเจ็บปวดร้าวไปถึงแขนหรือกรามปวดประจำเดือน : มักเจ็บบริเวณช่องท้องหรือส่วนล่างของร่ายกาย บางกรณีอาจเจ็บปวดจนถึงขั้นขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวันได้ ปวดท้องประจำเดือนแบบไหนที่อาจอันตราย ? หมั่นสังเกตลักษณะอาการประจำเดือนของเราว่ามีอะไรผิดปกติหรือเปล่า เดือนนี้มาช้า เร็วกว่าปกติ มามากหรือน้อยกว่าปกติ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนให้เราต้องระวังสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ปวดรุนแรงมากเกินไป หากมีความเจ็บปวดที่รุนแรงมากจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ หรือไม่สามารถลุกจากเตียงได้ ควรปรึกษาแพทย์ ปวดท้องนานกว่าปกติ เริ่มปวดท้องก่อนมีประจำเดือนหลายวัน หรือแม้กระทั่งหมดรอบเดือนแล้วยังรู้สึกปวดท้องอยู่ ปวดแบบแปลก ๆ เช่น ปวดมากขึ้นในแต่ละเดือน ปวดท้องร้าวไปที่หลัง หรือขา มีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น เลือดออกมากผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ร่วมกับปวดท้องประจำเดือน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่เกี่ยวกับมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์ได้…

Heart disease or acid reflux

เช็กให้ชัวร์ เจ็บแน่นหน้าอกแบบนี้ “โรคหัวใจ” หรือ “กรดไหลย้อน”

เช็กให้ชัวร์! เจ็บแน่นหน้าอกแบบนี้ “โรคหัวใจ” หรือ “กรดไหลย้อน” อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอาการเริ่มต้นของหลาย ๆ โรค อาจทำให้เกิดความสับสนใจ โดยเฉพาะ “โรคหัวใจ” และ “โรคกรดไหลย้อน” ซึ่งอาการของทั้ง 2 โรคนี้ มักเริ่มมาจากอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก และความไม่ชัวร์แบบนี้นี่เองที่อาจทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตรงกับโรคที่เป็น ความเหมือนและต่างระหว่าง โรคหัวใจ กับ โรคกรดไหลย้อน อาการของกรดไหลย้อน และโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด บางครั้งอาจคล้ายกัน โดยเฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ทำให้แยกแยะได้ยากในบางกรณี อย่างไรก็ตาม ทั้งสองโรคก็ยังมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันอยู่ อาการที่เหมือนกัน เจ็บหรือแน่นหน้าอก – ทั้งกรดไหลย้อนและโรคหัวใจ สามารถทำให้รู้สึกเจ็บหรือแน่นหน้าอกได้ โดยเฉพาะบริเวณกลางอกหรือส่วนบนของท้อง รู้สึกแสบร้อนกลางอก – กรดไหลย้อนมักมีอาการแสบร้อนกลางอก แต่ผู้ป่วยโรคหัวใจบางรายอาจมีอาการลักษณะคล้ายนี้ได้ อาการอื่นร่วมกัน – ทั้งสองโรคอาจทำให้รู้สึกหายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกไม่สบาย อาการที่ต่างกัน กรดไหลย้อน เจ็บหน้าอกเวลาหายใจลึก ๆ หรือไอ…

ธนบุรี เสริมรัฐ_ดูแลหัวใจฤดูหนาว_TSR

ดูแลหัวใจในฤดูหนาว​

ดูแลหัวใจในฤดูหนาว หนาวแค่ไหนก็ต้องดูแลหัวใจตัวเอง เคล็ดลับดูแลหัวใจในฤดูหนาว ฤดูหนาวอาจเป็นช่วงเวลาที่หลายคนรอคอย แต่ก็เป็นฤดูที่ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพหัวใจด้วยเหมือนกัน เพราะอากาศเย็นสามารถสร้างผลกระทบต่อหัวใจของเราได้ มาดูกันว่าทำไมความหนาวถึงมีผลกับหัวใจ หลอดเลือดหดตัวจากความหนาว เมื่ออากาศเย็น หลอดเลือดของเราจะหดตัวลง เพื่อรักษาความร้อนและเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะสำคัญต่าง ๆ เช่น สมองและหัวใจ ซึ่งการหดตัวนี้ จะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เพราะความดันโลหิตอาจเพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจของเราต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการสูบฉีดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเฉียบพลัน อุณหภูมิต่ำอาจทำให้เกิดการอักเสบและการจับตัวของเกล็ดเลือด และอาจนำไปสู่การอุดตันในหลอดเลือดได้ อีกทั้งเมื่ออากาศเย็นร่างกายจะปล่อยฮอร์โมน เช่น อะดรีนาลีน ซึ่งจะกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้นได้ ทำให้มีโอกาสในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลับ หรือโรคหลอดเลือดสมองได้มากขึ้น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเราอบอุ่น เมื่อไทรอยด์ทำงานน้อยลงก็จะทำให้ ความสามารถในการรักษาความอบอุ่นของร่างกายลดลง หัวใจจึงต้องทำงานหนักกว่าปกติเพื่อเพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย ระวังเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าจะทำให้เรารู้สึกอบอุ่น แต่ขณะเดียวกันร่างกายจะสูญเสียความร้อนเร็วขึ้นนั่นเอง หนาวแล้วอย่าลืมป้องกันสุขภาพตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น สวมเสื้อผ้าให้อบอุ่น โดยเฉพาะบริเวณหน้าอกและศีรษะ รับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มความอบอุ่น ไม่ออกกำลังกายในที่เย็นจัด เพราะการออกกำลังกายแบบนี้อาจทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป หากมีอาการหนาวสั่นร่วมกับอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของอันตราย ควรรีบไปพบแพทย์ หายใจลำบาก หรือหายใจมีเสียง เจ็บหน้าอกโดยไม่มีสาเหตุ เหนื่อยล้ามากผิดปกติ การปรับตัวให้เหมาะสมและดูแลสุขภาพ จะช่วยให้หัวใจของเราแข็งแรง พร้อมที่จะมีความสุขได้ในทุกฤดูกาล หากใครมีวิธีดูแลหัวใจของคุณในหน้าหนาว