จริงหรือไม่ ? ฟันผุสะเทือนถึงหัวใจ

ปัญหาเหงือกและฟันอาจกระทบสุขภาพถวมถึงหัวใจได้

ธนบุรี เสริมรัฐ_ฟันผุ กับหัวใจ_TSR

จริงหรือไม่ ? ฟันผุสะเทือนถึงหัวใจ

ปัญหาโรคเหงือกและฟัน สามารถส่งผลกระทบถึงหัวใจได้เนื่องจากการติดเชื้อจากเหงือกและฟันสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด ไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงส่งผลต่อหัวใจได้โดยตรงอีกด้วย ซึ่งมี 2 กลไกหลักที่อธิบายได้ดังนี้

1. การติดเชื้อแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด (Bacteremia)

    • เมื่อฟันผุรุนแรงจนทะลุโพรงประสาทฟัน (Pulp), แบคทีเรียสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยในรากฟันและแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด
    • หากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ แบคทีเรียอาจไปสะสมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้เกิด เยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ (Infective Endocarditis) ซึ่งเป็นภาวะอันตรายที่อาจส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ

2. การอักเสบเรื้อรังและผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

    • ฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถนำไปสู่ โรคปริทันต์ (Periodontitis) ซึ่งเป็นการอักเสบเรื้อรังของเหงือกและกระดูกที่รองรับฟัน
    • การอักเสบนี้สามารถกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารก่อการอักเสบ (Cytokines)ซึ่งอาจส่งผลต่อหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด (Coronary Artery Disease, CAD)

คำแนะนำ การทำฟันของผู้ป่วยโรคหัวใจ

    1. ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว ขอใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันว่าสามารถทำฟันได้หรือไม่
    2. แจ้งทันตแพทย์ทุกครั้งเกี่ยวกับโรคของหัวใจ ยาที่รับประทาน รวมถึงปัญหาที่ผู้ป่วยเคยมีในการทำฟัน
    3. ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และไม่ควรหยุดยาเองหากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

อย่าลืมดูแลสุขภาพช่องปากง่าย ๆ

    1. แปรงฟันอย่างถูกวิธี ในตอนเช้าและก่อนนอน
    2. ใช้ไหมขัดฟัน หรือแปรงซอกฟันเพื่อทำความสะอาดบริเวณร่องฟัน
    3. พบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน

หากคุณมีฟันผุรุนแรง ปวดฟันร้าว หรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อป้องกันการลุกลามที่อาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและร่างกายโดยรวมได้